เรื่องมีอยู่ว่า พนักงานได้ยื่นหนังสือลาออกกับผู้บังคับบัญชาเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 โดยยื่นใบลาออกล่วงหน้า 30 วัน มีผลสิ้นสภาพการเป็นพนักงาน วันที่ 21 มกราคม 2565 เป็นตามข้อบังคับบริษัท แต่เกิดความผิดพลาดในการประสานงานภายในทำให้ใบลาออกดังกล่าว ไม่ถึงฝ่ายบุคคล ทำให้เกิดการจ่ายเงินเดือนจำนวน 2 เดือน นับตั้งแต่เดือนที่พนักงานลาออก ความแตกเพราะพนักงานไม่สามารถขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานได้ พนักงานจึงติดต่อมายังบริษัท เพื่อดำเนินการแจ้งออกหรือแจ้งพ้นสภาพกับสำนักงานประกันสังคม ทำให้บริษัทฯ ตรวจสอบข้อมูล ปรากฏว่าบริษัทยังดำเนินการจ่ายเงินเดือนให้แก้พนักงานท่านนี้อยู่
ทางบริษัทก็เลยให้พนักงานดำเนินการคืนเงินเดือนที่บริษัทจ่ายเกินไปทั้งหมด แต่พนักงานนั้นไม่ยอมคืน โดยให้เหตุผลว่าเกิดจากความผิดพลาดจากทางบริษัทเอง ไม่ใช่ความผิดของตน และพนักงานไม่ยินยอมที่จะคืนเงินเดือนจำนวนดังกล่าวอีกด้วย
เหตุการณ์นี้หากตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะเรียกว่า “ลาภมิควรได้” ลาภมิควรได้ คือ ทรัพย์สิ่งใดที่บุคคลหนึ่งได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งเสียเปรียบ บุคคลที่ได้ทรัพย์มานั้นมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา ตามมาตรา 40 “บุคคลใดได้มาซึ่งทรัพย์สิ่งใด เพราะการที่บุคคลอีกคนหนึ่งกระทำเพื่อชำระหนี้ก็ดี หรือได้มาด้วยประการอื่นก็ดี โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเสียเปรียบไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นจำต้องคืนทรัพย์ให้แก่เขา อนึ่งการรับสภาพหนี้สินว่ามีอยู่หรือหาไม่นั้น ท่านก็ให้ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อชำระหนี้ด้วย โดยมีอายุความ 1 ปี(อ้างอิงจากลาภมิควรได้, ผศ.ดร.ทศพล ทรรศนกุลพันธ์ คณะนิติศาสตร์)มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
อีกทั้งยังมีความผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 “ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ”
จะเห็นได้ว่าแม้เกิดจากความผิดพลาดการจ่ายเงินเดือนจากบริษัทเอง แต่ด้วยเงินเดือนที่พนักงานได้รับมานั้นเป็นเงินเดือนที่วัตถุประสงค์การจ่ายคือ นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตาม สัญญาจ้าง แต่ด้วยสัญญาจ้างสิ้นสุดตามความประสงค์ของลูกจ้างไปแล้ว จึงทำให้วัตถุประสงค์การจ่ายเงินเดือนนั้นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจ่ายนั้น
แล้วบริษัทจะทำอะไรได้บ้าง?
อย่างแรกบริษัทจะต้องทำหนังสือขอคืนเงินเดือน พร้อมรายละเอียดที่จำเป็น เช่น ให้ติดต่อกลับที่ใคร เบอร์โทรอะไร สถานที่ไหน คืนเงินกี่บาท ขั้นตอนดำเนินการหากไม่มาคืน และแจ้งไปยังพนักงาน อาจจะส่งทางไปรษณีย์แบบใบตอบรับหรือ E-mail หรือ Line เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าพนักงานรับทราบหนังสือดังกล่าว
อย่างที่สอง หากบริษัทส่งหนังสือไปแล้วพนักงานยังเพิกเฉย ให้บริษัทนำหลักฐานทั้งหมดที่เกี่ยวข้องแจ้งความเอาผิดดำเนินคดีให้ถึงที่สุดกับสถานีตำรวจในพื้นที่ หลักฐาน เช่น ประวัติพนักงาน ใบลาออก ใบสำคัญจ่าย หรือหลักฐานการโอน หลักฐานการติดต่อพนักงาน เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 60,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
อย่างที่สาม จำนวนเงินเดือนที่จ่ายไปนั้น มูลค่าเยอะมาก อาจจะต้องดำเนินการส่งคำฟ้องต่อศาลแพ่ง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายต่อไป โดยมีอายุความ 1 ปี
หลักจากนั้นบริษัทจะต้องดำเนินการสอบสวนกับเรื่องที่เกิดขึ้น รวมทั้งกลับมาดูเรื่องการปรับกระบวนการ การประเมินความเสี่ยง Work Flow เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์นี้อีก
ในฐานนะพนักงานที่ได้เงินเกินมาจะทำยังไงละ?
กรณีที่ 1 พนักงานรู้ว่ามีเงินโอนเข้าบัญชีมาโดยที่ไม่รู้ว่ามาจากไหน ให้พนักงานแจ้งธนาคารไว้และอย่านำเงินไปใช้เด็ดขาด เดี๋ยวธนาคารเค้าจะจัดการเอง
กรณีที่ 2 มีเงินโอนเค้ามา แล้วบริษัทติดต่อขอคืน ให้พนักงานขอหลักฐานการโอนเงินมาเพื่อยืนยันว่าบริษัทได้ดำเนินการโอนมาผิดจริง หลังจากนั้นค่อนโอนคืนไปยังบัญชีต้นทางที่บริษัทโอนผิดมา
กรณีที่ 3 พนักงานเผลอใช้เงินจำนวนนั้นไป แล้วมีบริษัทมาติดต่อขอคืนละ ไม่ต้องตกใจนะครับ ให้พนักงานคุยกับบริษัทก่อนว่าเราจะคืนหรือยังไงไกล่เกลี่ยดูก่อนครับ บริษัทอาจจะไม่ได้ใจร้ายนักหรอกครับ
ทั้งนี้เรื่องจะไม่เป็นแบบนี้ถ้า “เงินนี้ไม่ใช้เงินของเรา เราก็คืนเจ้าของเค้าไป”