ก่อนอื่นเรามาดูพรบ.คุ้มครองแรงงาน พศ. 2541 มาตรา 17 กรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยบอกกล่าว ล่วงหน้า เป็นหนังสือให้ อีกฝ่ายหนึ่งทราบ ในเมื่อถึง หรือก่อนจะ ถึงกำหนดจ่าย ค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผล เลิกสัญญากัน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้าง คราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ แต่ไม่จำเป็นต้อง บอกกล่าวล่วงหน้า เกินสามเดือน
จริงอยู่ว่าถ้าพนักงานแสดงเจตนาที่ไม่ประสงค์จะทำงานต่อ โดยระบุวันที่สิ้นสุดชัดเจน ยืนเป็นเอกสาร หรือด้วยวาจาต่อนายจ้าง ก็ถือว่าสิ้นสุดสัญญาจ้าง โดยที่ไม่ต้องรอนายจ้างอนุมัติ ก็สามารถออกได้ทันทีก็ได้ แต่!!มีระบุในสัญญาจ้าง และบริษัทมีระเบียบเรื่องการลาออกจะต้องแจ้งล่วงหน้า 30 วัน และจะต้องได้รับอนุมัติจากนายจ้างก่อน เช่นพนักงานยื่นใบลาออกล่วงหน้าเพียง 15 วัน การที่พนักงานกระทำการบอกกล่าวล่วงหน้ามีระยะเวลาน้อยเกินไป ไม่เป็นไปตามระเบียบบริษัท ตามสัญญาจ้าง อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อบริษัทได้
บริษัทสามารถฟ้องเรียกค่าเสียหายทางแพ่งกับพนักงานได้ แต่!!บริษัทจะต้องพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายว่าการลาออกจากพนักงานท่านี้ส่งผลเสียหายอะไรบ้างกับบริษัท และจะต้องมีหลักฐานแสดงให้ถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน
แต่ก่อนที่จะมาฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกัน ต้องกลับมาดูว่าบริษัทมีการเจรจากับพนักงานแล้วรึยัง เช่น สาเหตุการลาออก ความจำเป็นที่จะต้องส่งมอบงานต่อในระยะเวลาที่บริษัทกำหนด พนักงานคนนี้ Performance ดีทำไมลาออก บริษัทเคยตั้งข้อสงสัยรึไม่ ในด้านของพนักงานอาจจะต้องนึกผลเสียถึงอนาคตไหม? การส่งมอบงานเราจะทันไหม ถ้าหากเราจำเป็นที่ต้องออกก่อนระยะตามระเบียบบริษัทละ เราจะเจรจากับบริษัทยังไงเพื่อให้งานที่เราทำอยู่ไม่หยุดชะงักไม่ให้เกิดความเสียหาย พวกนี้บ่งบอกความเป็นมืออาชีพในการทำงาน ใจเขาใจเรา ถึงอย่างไงผมก็ยังเน้นการพูดคุยระหว่างบริษัทและพนักงานเพื่อลดปัญหาพวกนี้ออกไป